การผัน Verb ช่อง 2 และ 3
14 ธันวาคม 2557 เวลา 20:52 น. | (450048 view)

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มี tense คือมีการผันคำในประโยคตามเวลาของเหตุการณ์ที่พูดถึง แตกต่างจากภาษาไทยที่ไม่เปลี่ยนตัวกิริยาหลักของประโยค แต่ใช้ลักษณะของการเพิ่มคำเข้าไปหรือเปลี่ยนคำวิเศษณ์ขยายเพียงอย่างเดียว เพื่อบอกรายละเอียดของเวลาที่เหตุการณ์ที่กล่าวถึงนั้นเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
I go to school today I went to school yesterday
ฉันไปโรงเรียนวันนี้ ฉันไปโรงเรียนเมื่อวาน
ถ้าสังเกตจากตัวเอียงในประโยคตัวอย่างจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน คือเมื่อพูดถึงอดีตและปัจจุบัน ภาษาไทยยังคงรูปคำเดิม แต่ภาษาอังกฤษมีการเปลี่ยนรูปของกิริยาไป
จากปรากฏการณ์นี้เอง ทำให้คำกิริยาภาษาอังกฤษ หรือ verb มีการผันแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ หรือเรียกว่า กิริยา 3 ช่อง โดยการผันรูปของกิริยาจากช่อง 1 ไปเป็นช่อง 2 และ 3 แบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ และมีหลายลักษณะดังต่อไปนี้
Regular verb กริยาผันด้วยการมีรูป –edต่อท้าย (ผันแบบปกติ)
1. เติม –edท้ายกริยาช่อง 1
เช่น walk walked walked = ช่วยเหลือ
talk talked talked = พูดคุย
2. ส่วนกริยาที่ลงท้ายด้วย e เติม –d ไปท้ายกริยาช่อง 1 (ลงท้ายด้วยed)
เช่น close closed closed = ปิด
dance danced danced = เต้น
3. กริยาที่ลงท้ายด้วย y ให้เปลี่ยน y เป็น I แล้วเติม –ed
เช่น study studied studied = เรียนหนังสือ
marry married married = แต่งงาน
*ยกเว้นกริยาที่หน้า y เป็นสระ (a e i o u) สามารถเติม –edต่อท้ายได้เลย
เช่น play played played = เล่น
spray sprayed sprayed = ฉีดพ่น
4. กริยาที่มีพยางค์เดียว และมีสระ (a e i o u) เพียงตัวเดียว ให้ซ้ำตัวอักษรท้ายสุดแล้วเติม –ed
เช่น stop stopped stopped = หยุด
mob mobbed mobbed = ถู
5. กริยาที่ลงท้ายด้วยอักษร l ให้ซ้ำตัว l อีกตัวแล้วเติม –ed
เช่น travel travelled travelled = เดินทาง
Irregular verb กริยาผันไม่ปกติ (ผันตามใจฉัน) *ต้องพยายามจำ
1. กริยาบางตัวเปลี่ยนรูปไปเลย
เช่น run ran run = วิ่ง
buy bought bought = ซื้อ
sing sang sung = ร้องเพลง
write wrote written = เขียน
feel felt felt = ยืน
fall fell fallen = ร่วงหล่น
1. กริยาบางตัวกลับไม่เปลี่ยนรูปเลยทั้ง 3 ช่อง
เช่น put put put = วาง
cut cut cut = ตัด
let let let = ปล่อย
set set set = จัดวาง จัดเตรียม
เราควรใช้กิริยา 3 ช่องให้ถูกต้องตาม tense ของประโยค แรกๆ อาจจะต้องอาศัยการจำเป็นหลัก แต่พอใช้ไปเรื่อยๆจนชินแล้วก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย